วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

Flow Chart

ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ประโยชน์ของผังงาน
           ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน

           ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
           ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
           ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น
วิธีการเขียนผังงานที่ดี

           ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
           ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
           คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัด และเข้าใจง่าย
           ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก
           ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
           ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม
ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )

การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้
  • จุดเริ่มต้น / สิ้นสุดของโปรแกรม 
  • ลูกศรแสดงทิศทางการทำงานของโปรแกรมและการไหลของข้อมูล
  • ใช้แสดงคำสั่งในการประมวลผล หรือการกำหนดค่าข้อมูลให้กับตัวแปร 
  • แสดงการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องหรือการแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมา
  • การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจ โดยจะมีเส้นออกจารรูปเพื่อแสดงทิศทางการทำงานต่อไป เงื่อนไขเป็นจริงหรือเป็นเท็จ
  • แสดงผลหรือรายงานที่ถูกสร้างออกมา
  • แสดงจุดเชื่อมต่อของผังงานภายใน หรือเป็นที่บรรจบของเส้นหลายเส้นที่มาจากหลายทิศทางเพื่อจะไปสู่การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน
  • การขึ้นหน้าใหม่ ในกรณีที่ผังงานมีความยาวเกินกว่าที่จะแสดงพอในหนึ่งหน้า 
Flowchart
     อย่างแรกเลยที่เราต้องรู้จัก  คือ Algorithm (และต้องเขียนให้เป็นเพราะต้องใช้ตลอด ข้อสอบ Final ของ Intro
ก็ประมาณนี้นะมีเขียน Flowchart)
     Algorithm  คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
อย่างเป็นขั้นเป็นตอนและ ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร เช่น เวลาเราจะเดินทางไปมหาลัย(เปรียบ
เสมือนปัญหา คือต้องการไปมหาลัย) ต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อจะไปถึงมหาลัย(ผลลัพธ์ ที่ต้องการ)  ยกตัวอย่าง

     วิธีที่ 1
     1.นั่งรถสองแถวไปมีนบุรี
     2.นั่งรถตู้ที่มีนบุรีไป มหาลัย
     3.ถึงมหาลัย

     วิธีที่ 2
     1.เดินจากบ้านไปมีนบุรี
     2.นั่งรถเมย์ไปมหาลัย
     3.ถึงมหาลัย

     วิธีที่ 3
     1.นั่ง Taxi ไปมหาลัย
     2.ถึงมหาลัย

     จะสังเกตุได้ว่า ใน 1 ปัญหา มีวิธีแก้ไขหลายวิธี แต่ละคนอาจจะคิดวิธีแก้ไขปัญหา(Algorithm) แตกต่างกันออกไป
(จากตัวอย่างบางคนอาจจะอาศัยรถคนอื่นไปก็ได้จริงมั้ยค่ะ) เมื่อเรารู้จัก Algorithm แล้ว เราก็เอา Algorithm
ที่เราคิดได้ ไปเขียนเป็น Flowchart (ตามลำดับขั้นตอนของ Algorithm)

     สัญลักษณ์(Symbol)
การเขียน Flowchart เบื้องต้นเราจะใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้ (ที่จริง มีเยอะค่ะแต่ใช้จริงๆ เบื้องต้น มีแค่นี้แหละ)           


    รูปแบบการเขียน Flowchart    การเขียนเราจะเขียนในลักษณะ Top-Down คือจากบนลงล่าง(Flow คือการไหล,Flowchart ก็คือ ผังงานการไหลของข้อมูล)
การเขียนมี 3 ลักษณะ คือ sequence(ตามลำดับ) selection(ทางเลือก/เงื่อนไข) iteration(ทำซ้ำ)
          Sqquence(ตามลำดับ)
     ตามชื่อเลยค่ะ เป็นการเขียนแบบไล่ทำไปทีละลำดับ ไม่มีแยก (เปรียบเสมือน ขับรถไป ไม่มีทางแยกให้เลี้ยวไปไหน)                            



ที่ใช้สํญลักษณ์  เพราะมันเป็นกระบวนการ(Process)
จะเห็นว่ามันเป็นเพียงแค่ลำดับขั้นตอน ของการแก้ไขปัญหาแค่นั้นเอง (เพียงแต่เลือกใช้สัญลักษณ์ให้ถูก)
          Selection(ทางเลือก/เงื่อนไข)
     แล้วถ้ามีเงื่อนไข หรือ ทางเลือก ละ ประมาณว่า (สมมุตินะ) ถ้านั่งรถไปมีนบุรีแล้ว รถตู้เต็ม คนต่อแถวเยอะมากเลย
ไปเรียนไม่ทันแน่ๆ ก็ให้นั่ง Taxi (เห็นมั้ยว่ามันมีทางเลือกและ หรือเงื่อนไขนั่นเอง) เรามาดูแบบมีเงื่อนไขกัน     

    
จะเห็นได้ว่าพอมีเงื่อนไข หรือ ทางเลือก เราจะใช้ สัญลักษณ์  ภายในเราก็จะเขียนเงื่อนไข
ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ก็ ไปทำทางด้านจริง ถ้าไม่จริงก็ทำทางด้านไม่จริง เสมือนเราขับรถแล้วไปเจอทางแยก แต่ทางแยกนี้
มันไปถึงที่หมายที่เดียวกัน ก็ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง

          Iteration(ทำซ้ำ)     อีกรูปแบบนึง คือ การทำซ้ำๆ เช่น เราอยากกินข้าว กินไปเรื่อยๆ ถ้าอิ่มก็กลับบ้าน ถ้าไม่อิ่มก็กินต่อ(เอาให้พุงแตกไปเลย)


ถ้าเราเข้าใจ Flowchart เราก็จะเขียนโปรแกรมออกมาได้ง่ายขึ้น เพราะเราจะรู้ step การทำงานว่าจะต้องไปทางไหนต่อ
ทำอะไรต่อ พยายามทำความเข้าใจนะค่ะ ไม่ยาก วันนี้พอแค่นี้ก่อน นั่งเขียนนานแระ จะค่อยๆ ทยอยเขียนให้นะค่ะ

ขอขอบคุณ http://www.cpe.mut.ac.th/board

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น